วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

16 คำถาม ไขข้อข้องใจ กรุงเทพๆเสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวขนาดไหนและจะรับมือกันอย่างไร

16 คำถาม ไขข้อข้องใจ กรุงเทพๆเสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวขนาดไหนและจะรับมือกันอย่างไร

โดย
รองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ

ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
อาจารย์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำถามที่ 1. ดูเหมือนว่าเหตุแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะนี้ทั่วโลก ไล่มาตั้งแต่ที่นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จนมาถึงพม่า แต่ละจุดที่เกิดขึ้นก็มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าโลกเราอยู่ขั้นวิกฤติแล้วหรือไม่?
ผมได้รับคำถามลักษณะนี้มาหลายครั้งแล้ว หากดูจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกย้อนหลังไป 10 ปีจะพบว่าเรามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั่วโลกนับเป็นพันครั้งต่อวัน แผ่นดินไหวบางอันก็มีขนาดเล็กไม่เกิน 2-3 ริกเตอร์ไม่ทำให้คนรับรู้ได้ แต่สามารถตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือวัด แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างความเสียหายให้แก่อาคารบ้านเรือนมักจะ มีขนาดเกิน 5 ริกเตอร์ขึ้นไปและเกิดในที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เยอะๆ หากมาดูเฉพาะแผ่นดินไหวขนาดกลางขึ้นไปจะพบว่าตามสถิติแผ่นดินไหวขนาด 5.0-5.9 ริกเตอร์จะเกิดขึ้นประมาณ 1500 ครั้งต่อปี ขนาด 6.0-6.9 จะเกิดขึ้นประมาณ 150 ครั้งต่อปี ขนาด 7.0-7.9 จะเกิดขึ้นประมาณ 15 ครั้งต่อปี และ ขนาดใหญ่กว่า 8.0 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดประมาณ 1 ครั้งต่อปี หากดูตามสถิตินี้แล้วในช่วงย้อนหลัง 10 ปี ก็ยังไม่พบสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราการเกิดแผ่นดินไหวมีความถี่เพิ่มขึ้นผิด สังเกตแต่อย่างใด


อ่านต่อ คลิกที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น